2011年6月26日星期日

จดหมายเหตุลาลูแบร์

จดหมายเหตุลาลูแบร์ (ฝรั่งเศส: "Du Royaume de Siam" แปลตามตัวคือ "ว่าด้วยราชอาณาจักรสยาม") เป็นจดหมายเหตุพงศาวดารที่กล่าวถึงราชอาณาจักรสยามในปลายรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช พ.ศ. 2230 โดย มองซิเออร์ เดอ ลาลูแบร์ อัครราชทูตของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศส ซึ่งเข้ามาทูลพระราชสาส์น ณ ประเทศสยาม ได้พรรณาถึงกรุงศรีอยุธยาไว้อย่างกว้างขวาง แม้ว่าเขาจะอยู่เพียง 3 เดือน 6 วัน จึงต้องอาศัยความรู้จากหนังสือที่ชาวตะวันตกซึ่งมากรุงสยามแต่ก่อนแต่งไว้อย่างคลาดเคลื่อนบ้าง สอบถามจากคนที่ไม่มีความรู้บ้าง ฟังจากคำบอกเล่าซึ่งจริงบ้างไม่จริงบ้าง บางเรื่องก็คาดเดาเอาเอง
จดหมายเหตุลาลูแบร์ฉบับแปลในประเทศไทยมีอยู่ 2 ฉบับ คือ ฉบับที่พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรวรรณากร กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ ทรงพระนิพนธ์แปล โดยทรงแปลมาจากฉบับภาษาอังกฤษ และฉบับแปลของสันต์ ท.โกมลบุตร จากต้นฉบับภาษาฝรั่งเศส

ปราสาทนครธม

นครธม
ปีที่สร้าง : สร้างในปีพุทธศตวรรษที่ 18
รัชสมัย : รัชสมัยของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7
ศิลปะ : เป็นศิลปะแบบบายน
ศาสนา : ศาสนาพุทธนิกายมหายาน
• นครธมมีความหมายว่าเมืองใหญ่ (ธม แปลว่า ใหญ่) เมืองพระนครหลวงมีพระราชวังและปราสาทต่างๆมากมาย และเป็นช่วงเวลาที่อาณาจักรขอมมั่งคั่งและรุ่งโรจน์เป็นที่สุด ไม่ว่าใครก็ตามที่เดินทางมาเยี่ยมชมเมืองพระนครหลวง และนับตั้งแต่ก้าวแรกที่จะต้องเดินทางผ่านช่องประตูเข้ามา้ ต้องตื่นตะลึงกับความโอฬารของหินทรายที่สลักเป็นรูปพระพักตร์ของพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร ด้วยสายตาที่ทอดลงมายังที่ต่ำ และรอยยิ้มที่เป็นสุขหรือยิ้มแบบบายนที่เปี่ยมด้วยความเมตตา ทำให้ผู้พบเห็นมิอาจจะละสายตาไปได้ง่าย
• ส่วนด้านข้างของกรอบประตูก็จะพบกับประติมากรรมลอยตัวพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ 3 เศียร คอยต้อนรับอาคันตุกะจากแดนไกลอีกเช่นกัน
• สองข้างทางของสะพานที่ทอดข้ามคูเมืองด้านซ้ายเป็นศิลาทรายสลักลอยตัวของเหล่าเทวดาฉุดตัวนาค ส่วนด้านวาเป็นบรรดายักษ์กำลังฉุดดึงลำตัวพญานาคอยู่เช่นกัน ทั้งภาพสลักเทวดา นาค และยักษ์ นิยมนำมาให้กันมากในศิลปะยุคบายนนี้
• เมืองพระนครหลวง นับได้ว่าเป็นราชธานีแห่งใหม่ที่ย้ายมาจากนครยโศธรปุระที่มีมาตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 15 อันเป็นพระราชดำริของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ที่ประสงค์จะขยายอาณาจักรขอมให้ยิ่งใหญ่ขึ้น เมืองพระนครหลวงมีคูเมืองล้อมรอบกว้างประมาณ 80 เมตร แต่ละด้านมีความยาวถึง 3 กิโลเมตรและมีกำแพงล้อมรอบทั้งสี่ด้านด้วยกัน มีพื้นที่มากถึง 9 ตารางกิโลเมตร หรือ 5,625 ไร่ กำแพงแต่ละด้านก่อด้วยศิลาแลงสูง 7 เมตร
• ประตูด้นทิศใต้ของเมืองพระนครหลวงจัดได้ยังมีความสมบูรณ์ของรูปประติมากรรมลอยตัวของเทวดาและยักษ์ยื้อยุดฉุดนาคเพื่อกวนเกษียรสมุทร อันเป็นตอนเริ่มจากนิยานปรัมปราที่พวกพราหมณ์เล่าถึงตอนกำเนิดโลกมนุษย์และจักรวาล
ปราสาทบายน
• ปราสาทบายนสร้างในปีพุทธศตวรรษที่ 18 รัชสมัยของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 เป็นศิลปะแบบบายน ศาสนาพุทธนิกายมหายาน ปราสาทบายนเป็นปราสาทหลวงประจำรัชสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 และเป็นการปฏิวัติรูปแบบของการสร้างปราสาทที่มีภาพลักษณ์ต่างจากการสร้างรูปแบบเดิมๆ โดยสิ้นเชิง เป็นเพราะพระองค์ทรงเลื่อมใสในพระพุทธศาสนานิกายมหายาน ซึ่งต่างจากกษัตริย์หลายพระองค์ที่ล้วนแล้วแต่นับถือศาสนาฮินดูหรือศาสนาพราหมณ์ที่สืบทอดมากกว่า 415 ปี
• ปราสาทบายนถูกสร้างโดยการนำหินมาวางซ้อนๆ กันขึ้นเป็นรูปร่าง แม้จะเป็นปราสาทไม่ใหญ่โตเท่านครวัด แต่มีความแปลกและดูลี้ลับทั้งปราสาทมีแต่ใบหน้าคน หากขึ้นไปยืนอยู่ภายในปราสาทนี้ไม่ว่ามุมไหนก็หาได้รอดหลุดพ้นจากสายตาเหล่านี้ได้เลย
• นักเดินทางรุ่นเก่าที่เดินทางมายังปราสาทบายนรุ่นแรกๆ เช่น นายปิแอร์ โลตี ได้บันทึกไว้ว่า “ข้าพเจ้าแหงานหน้าขึ้นไปยังปราสาทที่มีต้นไม้ปกคลุม ซึ่งทำให้ตัวเองรู้สึกเหมือนคนแคระและทันทีทันใด เลือดในตัวข้าพเจ้าก็เกิดแข็งเย็นขึ้นมา เมื่อมองเห็นรอยยิ้มขนาดมหึมาที่กำลังมองลงมาแล้วก็รอยยิ้มอีกด้านหนึ่งเหนือกำแพงอีกด้านหนึ่งแล้วก็รอยยิ้มที่สารทแล้วก็รอยยิ้มที่ห้า แล้วก็ที่สิบ ปรากฏจากทั่วสารทิศข้าพเจ้ารู้สึกเหมือนมีตาคอยจ้องมองอยู่ทุกทิศทาง”
ปรางค์ปราสาทบายน
• ปรางค์ปราสาทบายนทั้ง 54 ปรางค์ถูกสลักเป็นภาพพระพักตร์ของพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร ผันพระพักตร์ออกไปทั้งสี่ทิศ เพื่อสอดส่องดูแลความทุกข์สุขของเหล่าพสกนิกรของพระองค์ให้อยู่เย็นเป็นสุข รอยยิ้มที่ระเรื่อนี้เรียกว่ายิ้มแบบบายนเปี่ยมไปด้วยความเมตตากรุณา ใบหน้าเหล่านั้นหากนับรวมกัน 54 ปรางค์ปราสาทปรางค์ปราสาทละ 4 หน้า จะมีรวมถึง 216 หน้า แต่ปัจจุบันได้สึกกร่อนพังทลายลงไปหลายหน้าแล้ว
• รอบๆ ปรางค์ประธานประกอบด้วยระเบียงคต 2 ชั้น รูปทรงสี่เหลี่ยมพื้นผ้า ชั้นนอกมีขนาดกว้าง 140 เมตร ยาว 160 เมตร ชั้นในมีขนาดกว้าง 70 เมตร ยาว 80 เมตร หน้าโคปุระทุกด้านมีภาพประติมากรรมลอยตัวรูปสิงห์ทั้งสองข้างของบันได ปรางค์ประธานมีลักษณะเป็นทรงกรวยมีเส้นผ่าศูนย์กลางถึง 25 เมตร และสูง 43 เมตร เหนือจากระดับพื้น ตัวปราสาทโดยรอบแบ่งออกเป็น 3 ชั้น ประกอบระเบียงคตด้านนอก ชั้นระเบียงคตด้านใน และบนสุดเป็นชั้นของปรางค์ประธาน และปรางค์บริวารที่ทุกปรางค์จะมีภาพพระพักตร์ของพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร ผินพระพักตร์มองออกไปทั้งสี่ทิศ
ระเบียงคตชั้นนอก
• แต่เดิมมีหลังคาหินทรายมุงอยู่ แต่ธรรมชาติและป่าที่กลืนปราสาทนานนับร้อยปี รวมทั้งสงครามต่อเนื่องอีกหลายทศวรรษ ทำให้หลังคาส่วนใหญ่พังทลายลงหมด ปัจจุบันหลังคาหินเหล่านี้กองอยู่ในบริเวณปราสาทหลายกอง พบแต่เสาศิลาทรายที่ทั้งสี่ด้านของเสามรภาพสลักนูนต่ำของนางอัปสรากำลังร่ายรำ
ผนังด้านทิศตะวันออก
• ตลอดความยาว 35 เมตรและสูง 3 เมตร ถูกสลักเป็นภาพนูนต่ำ ในภาพเป็นขบวนทหารและแม่ทัพนายกองส่วนหนึ่งของขบวนทัพพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ภาพแบ่งออกเป็น 3 ชั้น คือภาพด้านบน กลางและด้านล่างง การจัดขบวนทัพใยสมัยนั้นเป็นรูปแบบขบวนทัพที่ใช้กันมาจนถึงปัจจุบัน ประกอบด้วยกองกำลังสอดแนม ทัพหน้า ทัพหลวง กองสรรพวุธและกองเสบียง การแต่งกายของเหล่าทหารมีรูปแบบเป็นหมู่เป็นกองเห็นได้ชัด จากลักษณะของหมวก เสื้อ ผ้ายันต์ และผ้านุ่ง ตลอดจนอาวุธที่ใช้ก็แตกต่างกันตามลำดับและยศของทหาร ทัพหน้ามีกองกำลังทหารจากประเทศราช บางเหล่าแต่งกายคล้ายทหารจีน ทัพหลวงมีกระบวนม้าและกระบวนช้าง มีพัดโบก และอาวุธครบ สุดท้ายเป็นกองเสบียงมีโคเทียมเกวียนที่บรรทุกสัมภาระไปกันมากมาย มีคนจูงหมู แบกเต่าไปกับขบวนด้วย บางคนกำลังก่อไฟย่างปลา บางคนกำลังหุงข้าว ภาพสลักชุดนี้เล่าถึงชีวิตของทหารในกองทัพพร้อมกับวิถีชีวิตของชาวบ้านได้เป็นอย่างดี
ผนังด้านทิศใต้
• เป็นภาพสลักยุทธภูมิทางเรือของทัพขอมและทัพจาม การปะทะกันทางเรือของสองทัพอย่างนองเลือด ทหารทั้งฝ่ายขอมและจามล้มตายลงเป็นอันมาก บางคนก็ถูกจระเข้ในโตนเลสาบคาบไป ณ สมรภูมิแห่งนี้เล่าถึงตอนที่กำลังทัพของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 สามารถเอาชนะทัพของพวกจามได้อย่าราบคาบ
ผนังด้านทิศเหนือ
• ภาพสลักเล่าเรื่องในรั้งในวังของเหล่าพระราชวงศ์ เช่น ตอนเสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมเยียนประชาชน ภาพการประดับราชวังเพื่อต้อนรับพระราชอาคันตุกะ ภาพการซ่อมแซมปราสาท ภาพการแสดงกายกรรม การละเล่น คนไต่ราว การแสดงมายากล มวยปล้ำ และพวกสัตว์ที่มากับคณะละครสัตว์ เป็นต้น
ผนังระเบียงคตชั้นใน
• ส่วนมากสลักภาพในพระราชพิธีต่างๆ เช่น ตอนประชุมเหล่าเสนนาบดี ภาพบางตอนเล่าถึงกฤษดาภินิหารต่างๆ ของพระเจ้าชยวรมันที่ 7 ก่อนขึ้นครองราขย์ ในขณะที่มหาปราสาทนครวัดมีภาพสลักในศาสนาฮินดูตาที่พระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 ทรงนับถือ แต่ที่ปราสาทบายนภาพสลักในยุคพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ได้แสดงให้เห็นถึงวิถีชีวิตของขอมโบราณเมื่อ 829 ปีก่อน หากจะเปรียบเทียบภาพสลักระหว่างสองปราสาทนี้แล้วจะพบว่า ที่ปราสาทบายนมีลักษณะเร่งรีบ และมีความงามด้อยกว่าที่นครวัดอยู่บ้าง และยังพบได้ว่ามีบางพื้นที่ซึ่งภาพสลักไม่เสร็จ เช่น บริเวณผนังทิศใต้ฝั่งตะวันตก เป็นเรื่องขบวนทัพของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 แต่อย่างไรก็ตาม ปราสาทบายนนับเป็นปราสาทที่มีความแปลกที่สุดทั้งด้านศิลปะ และการก่อสร้าง สมควรที่จะเข้าไปเยี่ยมชมไม่แพ้การไปเยี่ยมชมที่ปราสาทนครวัดเช่นกัน

ปราสาทนครวัด

นครวัด (เขมร: អង្គរវត្ត) เป็นศาสนสถานตั้งอยู่ในเมืองพระนคร จังหวัดเสียมเรียบ ประเทศกัมพูชา สร้างในรัชสมัยของพระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 ในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 12 โดยเป็นศาสนสถานประจำพระนครของพระองค์ ตัวเทวสถานได้รับการอนุรักษ์ไว้เป็นอย่างดี จนเป็นศูนย์กลางทางศาสนาที่สำคัญเพียงแห่งเดียวที่ยังเหลือรอดมาจนถึงปัจจุบันนับตั้งแต่ก่อสร้างแล้วเสร็จ แต่เดิมนครวัดเป็นเทวสถานของศาสนาฮินดู ซึ่งสร้างขึ้นเพื่อถวายแด่พระวิศณุ ก่อนที่จะเปลี่ยนเป็นศาสนาพุทธ นครวัดเป็นสิ่งก่อสร้างทางศาสนาที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของโลก ตัวเทวสถานถือเป็นที่สุดของสถาปัตยกรรมเขมรสมัยคลาสสิกรุ่งเรือง และได้กลายมาเป็นสัญลักษณ์ของประเทศกัมพูชา โดยปรากฏในธงชาติ และเป็นจุดท่องเที่ยวหลักของประเทศ ตลอดจนได้รับลงทะเบียนเป็นมรดกโลกภายใต้ชื่อ เมืองพระนคร
ปราสาทนครวัดได้เริ่มสร้างในกลางพุทธศตวรรษที่ 17 ในรัชสมัยของ พระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 เพื่อบูชาแด่พระวิษณุหรือ พระนารายณ์ ในปี พ.ศ. 1720 ชาวจามได้บุกรุกขอม ทำให้พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ต้องย้ายเมืองหลวงไปที่เมืองนครหลวง หรือ เสียมราฐ ในปัจจุบัน หลังจากนั้น พระองค์จึงสร้างเมืองนครธม และ ปราสาทบายน ห่างจากปราสาทนครวัดไปทางเหนือ เพื่อเป็นเมืองหลวงแห่งใหม่ของชาวขอม
ในปี ค.ศ. 1586 (พ.ศ. 2129) ได้มีนักบวชจากโปรตุเกส นามว่า อันโตนิโอ ดา มักดาเลนา เป็นชาวตะวันตกคนแรกที่ได้ไปเยือนปราสาทนครวัด แต่ที่จะถือว่าเป็นการเปิดประตูให้แก่ปราสาทนครวัดนั้น คือการค้นพบของ อองรี มูโอต์ นักสะสมแมลงและนักสำรวจชาวฝรั่งเศส เมื่อประมาณร้อยกว่าปีที่แล้วมา
ปราสาทนครวัดเป็นสิ่งก่อสร้างในยุคสิ้นสุดของราชอาณาจักรขะแมร์ โดยมีหินทรายเป็นวัสดุก่อสร้างหลัก

      
ปราสาทนครวัดมีขนาดใหญ่มากถึง 200,000 ตารางเมตร ตัวปราสาทสูง 60 เมตร ยาว 100 เมตร และกว้าง 80 เมตร มีแผนผังที่ถือว่าเป็นวิวัฒนาการขั้นสุดยอดของปราสาทขอม มีปราสาท 5 หลังตั้งอยู่บนฐานสูงตามคติของศูนย์กลางจักรวาล มีกำแพงด้านนอกยาวด้านละ 1.5 กิโลเมตร มีคูน้ำล้อมรอบตามแบบ มหาสมุทรบนสวรรค์ที่ล้อมรอบเขาพระสุเมรุ
ใช้หินรวม 600,000 ลูกบาศก์เมตร ใช้แรงงานช้างกว่า 40,000 เชือก และแรงงานคนนับแสนขนหินและชักลากหินมาจากเขาพนมกุเลน ชึ่งอยู่ห่างออกไปกว่า 50 กิโลเมตร มาสร้าง
ปราสาทนครวัด มีเสา 1,800 ต้น หนักต้นละกว่า 10 ตัน ใช้เวลาสร้างร่วม 100 ปี ใช้ช่างแกะสลัก 5,000 คน และใช้เวลาถึง 40 ปี
หอสูง 60 กว่าเมตรศูนย์กลางของกลุ่มปราสาท อันเปรียบเสมือนศูนย์กลางของจักรวาลนั้น มีทางเดินขึ้นที่ชันมาก ราว 50 องศา แต่ก็กลับเป็นจุดสำคัญที่นักท่องเที่ยวทุกเพศทุกวัยจะต้องปีนขึ้นไปและไต่ลงมา ที่จุดบนสุดของหอนี้จะมองเห็นวิวที่สวยสุดของปราสาทนครวัด

    
ทางด้านกำแพงชั้นนอกรอบปราสาทนั้น มีความยาวกว่า 800 เมตร มีงานแกะสลักเกี่ยวกับพระราชกรณียกิจของพระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 และเรื่องราวจากวรรณคดีเรื่อง รามายณะ รูปแกะสลักที่มีชื่อที่สุดก็คือรูปที่เทวดากับอสูรกวนเกษียรสมุทรด้วยเขาพระสุเมรุ และยังมีรูปแกะสลักนางอัปสรอีกถึง 1,635 นาง ที่ทั้งหมดแต่งกายและทรงผมไม่ซ้ำกันเลย

มีภาพจำหลักหินด้านหนึ่งเป็นภาพกองทัพสยาม ที่ส่งไปช่วยรบกับพวกจามมีอักษรจารึกไว้ว่า “สยำ กุก” ปัจจุบันถูกเอาออกไปแล้วน่าจะหมายถึงกองทัพสยามจากลุ่มแม่น้ำกก คือกำลังที่มาจากเมืองเชียงราย เมืองเชียงแสนหรือจาก[สุพรรณบุรี และคำว่า “ โลว” สันนิษฐานว่าเป็นกองทัพจากเมืองละโว้

 

2011年6月14日星期二

ประวัติศาสตร์คืออะไร

  • ประวัติศาสตร์ หมายถึง เหตุการณ์ทั้งหมดที่เกิดขึ้นในอดีต และสิ่งที่มนุษย์ได้กระทำ หรือสร้างแนวความคิดไว้ทั้งหมด รวมถึงเหตุการณ์ที่เกิดจากเจตจำนงของมนุษย์ ตลอดจนเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นโดยบังเอิญ หรือธรรมชาติที่มีผลต่อมนุษยชาติ
  • ประวัติศาสตร์ ได้แก่ เหตุการณ์ในอดีตที่นักประวัติศาสตร์ได้สืบสวนค้นคว้าแสวงหาหลักฐานมารวบรวมและเรียบเรียงขึ้น เนื่องจากเรื่องราวของมนุษย์ในอดีตมีขอบเขตกว้างขวาง และมีความสำคัญแตกต่างมากน้อยลดหลั่นกันไป นักวิทยาศาสตร์จึงหยิบยกขึ้นมาศึกษาเฉพาะแต่สิ่งที่ตนเห็นว่ามีความหมายและมีความสำคัญ
นักประวัติศาสตร์คนแรก
เฮรอดอตัสได้รับสมญาว่าเป็นบิดาแห่งประวัติศาสตร์เพราะเขาเป็นบุคคลแรกที่เห็นความสำคัญของเหตุการณ์ในอดีตว่า มีคุณค่าควรจดจำบันทึก และเขาได้ใช้วิธีการสืบค้นหาความจริงด้วยการเดินทางไปสอบสวยเรื่องราวต่างๆ จากแหล่งที่เชื่อถือได้ ตลอดจนพยายามค้นคว้าหาสาเหตุของเหตุการณ์ ด้วยการอธิบายถึงสภาพของดินแดนต่างๆ อย่างกว้างขวาง เพื่อนำไปสู่ความรู้ความเข้าใจในเรื่องราวที่เรียบเรียง จึงถือกันว่าเขาเป็นคนแรกที่เรียบเรียงเรื่องราวในอดีตในเชิงประวัติศาสตร์
หลักฐานทางประวัติศาสตร์
หลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษรแยกได้เป็น 3 พวกคือ
-
แหล่งข้อมูลปฐมภูมิ ได้แก่ เรื่องราวของเหตุการณืที่บันทึกไว้โดยผู้รู้เห็น หรือเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์นั้นโดยตรง
-
แหล่งข้อมูลทุติยภูมิ ได้แก่ บทความหรือรายงานของนักวิชาการทั้งในด้านประวัติศาสตร์ และสาขาวิชาการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
-
แหล่งข้อมูลตติยภูมิ ได้แก่ เอกสารทางประวัติศาสตร์ที่ผู้อื่นเรียบเรียงไว้ สารานุกรม และเอกสารทางวิชาการอื่นๆ
หลักฐานที่เป็นวัตถุ ได้แก่ โบราณวัตถุ โบราณสถาน เงินตรา ฯลฯ  
ประโยชน์ของประวัติศาสตร์
ช่วยสนองความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องแทนการคาดเดา หรือความเชื่อถือที่ปราศจากหลักฐาน เป็นบันทึกประสบการณ์ของมนุษยชาติที่มีคุณค่าควรแก่การศึกษาเพื่อเป็นบทเรียน ช่วยให้เกิดความรักความภาคภูมิใจในชาติ มีความตระหนักในคุณค่าของมรดกด้านต่างๆ ช่วยให้รู้จักและเข้าใจในเรื่องของโลก และเรื่องของเพื่อนมนุษยชาติที่กว้างขวางออกไป ฝึกให้คนรู้จักใช้เหตุผลในการพิจารณาเหตุการณ์ต่างๆ ช่วยในการทำนายอนาคต
การแบ่งยุคประวัติศาสตร์
  • ก่อนประวัติศาสตร์ สมัยหิน แบ่งเป็น 3 ยุคคือ
    1. ยุคหินเก่า มนุษย์รู้จักทำเครื่องมือด้วยหินอย่างหยาบๆ ด้วยการกระเทาะให้เป็นรูปร่างและมีคม ดำรงชีวิตด้วยการเก็บกินจากธรรมชาติ อยู่เป็นกลุ่มเล็กๆ
    2. ยุคหินกลาง ประมาณ 8,000 ปีก่อนคริสต์ศักราช เครื่องมือมีความประณีต มีมากแบบมากชนิดขึ้น เริ่มมีสัตว์เลี้ยง เช่น สุนัขเพื่อใช้ในการล่าสัตว์ และเฝ้าที่อยู่อาศัย
    3. ยุคหินใหม่ ประมาณ 6,000 ปีก่อนคริสต์กาล รู้จักขัดเกลาเครื่องมือหินให้แหลมคมและเรียบร้อยขึ้น รู้จักนำกระดูกมาดัดแปลงเป็นเครื่องใช้ และที่สำคัญคือรู้จักเลี้ยงปศุสัตว์และทำการเพาะปลูก
  • สมัยสัมฤทธิ์ มนุษย์รู้จักผสมดีบุกกับทองแดงเป็นทองสัมฤทธิ์ สมัยสัมฤทธิ์เริ่มขึ้นประมาณ 3,000 ปีก่อนคริสต์ศักราช สมัยนี้พบโลหะอื่นที่ราคาถูกและมีประสิทธิภาพกว่า คือ เหล็ก และในสมัยสัมฤทธิ์นี้มนุษย์รู้จักใช้แรงงานสัตว์ในการไถนาและชักลาก รู้จักการควบคุมแหล่งน้ำด้วยการชลประทาน และที่สำคัญที่สุดคือ มนุษย์ได้ประดิษฐ์ตัวอักษรขึ้นใช้
  • สมัยเหล็ก ประมาณ 1,000 ปีก่อนคริสต์ศักราช มีการนำเหล็กมาใช้ทำเครื่องมือและอาวุธ
  • สมัยประวัติศาสตร์
    1. สมัยโบราณ เริ่มเมื่อประมาณ 5,000 – 3,000 ปี ก่อนคริสต์ศักราช จนถึงประมาณริสต์ศตวรรษที่ 5 ในช่วงเวลาดังกล่าวได้เกิดแหล่งอารยธรรมสำคัญของโลกตามบริเวณลุ่มแม่น้ำใหญ่ต่างๆ เช่น แม่น้ำไนล์ ยุเฟรติส-ไทกริส สินธุ และฮวงโห
    2. สมัยกลาง เป็นสมัยที่อาณาจักรโรมันกว้างใหญ่ครอบคลุมบริเวณอารยธรรมโบราณทางตะวันออกใกล้แหลมบอลข่าน และกว่าครึ่งของยุโรปตะวันตกได้แตกสลายไป อนารยชนเผ่าต่างๆ เข้าครอบครองแทนที่ความเจริญรุ่งเรือง ที่สืบเนื่องกันมาหลายพันปีได้เสื่อมสลายลงยุโรป กลับตกอยู่ในสภาพที่ต่ำกว่าเดิมในด้านอารยธรรม จนมีการให้ชื่อยุคต่อมาว่ายุคมืด
สมัยใหม่ เริ่มตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 15 เป็นต้นมา นักประวัติศาสตร์มิได้มีความเห็นตรงกันตั้งหมดว่าควรถือเอาปรากฎการณ์ใดเป็นจุดเริ่มต้นของยุคใหม่ บางคนถือเอาการปฎิรูปศาสนาเป็นการเริ่มสมัยใหม่ของยุโรป แต่นักประวัติศาสตร์คนอื่นอาจยึดเอาปีที่กรุงคอนสแตนติโนเปิลเสียแก่พวกเตอร์ก เป็นปีสิ้นสุดของสมัยกลาง แต่โดยทั่วไปถือเอาคริสต์ศตวรรษที่ 15 เพราะมีการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญหลายด้าน
ประวัติศาสตร์
 

2011年6月12日星期日